มาตรฐานการผลิตเครื่องเบญจรงค์

มาตรฐานที่เกี่ยวข้องกับการผลิตเครื่องเบญจรงค์และลายน้ำทอง 

       
      แม้ว่าเครื่องเบญจรงค์ จะเป็นงานประเภทผลิตภัณฑ์หัตกรรม แต่สำหรับการผลิตเครื่องเบญจรงค์ในสมัยปัจจุบัน มีมาตรฐานที่เกี่ยวข้องกับการผลิตภัณฑ์ได้แก่มาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน และมาตรฐานอื่นๆตามรายละเอียดดังนี้
     1.มาตรฐานในผลิตภัณฑ์ชุมชนเครื่องเบญจรงค์  กระทรวงอุตสาหกรรมได้กำหนดมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน ของเครื่องเบญจรงค์ไว้เพื่อเป็นเกณฑ์ในการพิจารณา และเป็นเกณฑ์การคัดสรรสุดยอดผลิตภัณฑ์ "หนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์" และยังให้ความหมายของคำที่ใช้ในมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชนไว้ 2 คำคือคำว่า "เครื่องปั้นดินเผา" และ "เครื่องเบญจรงค์"
     เครื่องปั้นดินเผา หมายถึง สิ่งที่ทำขึ้นจากดินเป็นรูปทรงต่างๆ สำหรับทำเป็นสิ่งของเครื่องใช้ แล้วนำมาเผาไฟ เพื่อนำไปใช้งานต่อไป
     เครื่องเบญจรงค์ หมายถึง เครื่องปั้นดินเผาที่เคลือบผิว หลังจากการเผาแล้วจะมีเนื้อสีขาวละเอียด จากนั้นถึงจะนำไปเขียนลาย
     การแบ่งประเภทของเครื่องเบญจรงค์ สามารถแบ่งตามการใช้งานออกเป็น 2 ประเภท คือประเภทที่ใช้กับอาหาร เช่น ถ้วย ชาม จาน เหยือกน้ำ เป็นต้น และอีกประเภท เครื่องประดับตกแต่ง เช่น แจกัน รูปปั้น โคมไฟ เป็นต้น
    
            เครื่องเบญจรงค์ จะต้องมีคุณลักษณะดังนี้
     1.) ลักษณะทั่วไป เครื่องเบญจรงค์ทุกใบในชุดเดียวกัน ต้องมีรูปแบบ รูปทรง ลวดลาย และสีประณีต             สวยงาม
     2.) ปริมาณตะกั่ว ต้องไม่เกินเกณฑ์ที่กำหนด
     3.) ความทนต่อการเปลี่ยนอุณหภูมิ(เฉพาะที่ใช้กับอาหาร)ผิวที่เคลือบต้องไม่มีรอยแตกหรือรอยแยก
     4.) การดูดซึมน้ำ ค่าเฉลี่ยการดูดซึมน้ำต้องไม่เกิน ร้อยละ 0.5 โดยน้ำหนัก
     5.) ความเปียก เมื่อนำมาทำความสะอาดด้วยสำลีชุบเอทานอล และทำให้แห้ง แล้วจุ่มลงในน้ำสะอาด           ผิวส่วนที่ทำความสะอาดแล้วต้องเปียกน้ำสม่ำเสมอ

         การบรรจุเครื่องเบญจรงค์ให้บรรจุในภาชนะบรรจุที่สะอาด เรียบร้อย แข็งแรง พอที่จะทนและป้องกัน     ความเสียหายที่จะเกิดขึ้นกับเครื่องเบญจรงค์ได้ โดยกำหนดเกี่ยวกับเครื่องหมายและฉลากของเครื่อง     เบญจรงค์ไว้ว่า เครื่องเบญจรงค์ทุกชิ้นอย่างน้อยต้องมีเลขอักษร หรือเครื่องหมายแจ้งราละเอียดต่อไป   นี้ ให้เห็นได้ง่ายและชัดเจน
        ได้แก่....
    1. ประเภท
    2. เดือน ปี ที่ทำ
    3. ชื่อผู้ทำ หรือสถานที่ทำ พร้อมสถานที่จัดตั้ง หรือเครื่องหมายการค้าที่จดทะเบียน
    4. คำเตือน "ไม่ควรใช้กับเตาไมโครเวฟ" (เฉพาะประเภทที่ใช้กับอาหาร)

      2.มาตรฐานอื่นๆ  นอกจากมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชนเครื่องเบญจรงค์แล้ว ยังมีมาตรฐานอื่นที่เกี่ยวกับการผลิตภัณฑ์เครื่องเบญจรงค์ และลายน้ำทอง แต่ทั้งนี้จะเกี่ยวข้องเฉพาะผลิตภัณฑ์ประเภทนี้ใช้กับอาหารเท่านั้น
      มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมภาชนะเซรามิกที่ใช้กับอาหารของเนื้อดิน จะกำหนดขนาดและเกณฑ์ความคลาดเคลื่อน วุสดุและการทำ คุณลักษณะที่ต้องกาารเครื่องหมายและฉลาก การซักตัวอย่างและเกณฑ์การตัดสิน รวมทั้งการทดสอบภาชนะเซารมิกที่ใช้กับอาหาร โดยเนื้อหาสาระของมาตรฐานที่สอดคล้องกันมีดังนี้
      1.)  ภาชนะเซรามิกที่ใช้ใส่อาหารในการเตรียม การเก็บรักษา หรือการบริโภค ยกเว้นภาชนะหุงต้ม                 ได้แก่   
      (1.1) ภาชนะแบบแบน หมายถึง ภาชนะที่มีความลึกไม่เกิน 25 มิลลิเมตร เมื่อวัดในแนวดิ่งจากจุดลึก    ที่สุดภายในภาชนะถึงแนวระดับราบของขอบริมบนสุดของภาชนะ 
      (1.2) ภาชนะแบบลึกขนาดเล็ก หมายถึง ภาชนะที่ีมีความลึกไม่เกิน 25 มิลลิเมตร เมื่อวัดในแนวดิ่ง  จากจุดลึกที่สุดภายในภาชนะถึงแนวระดับราบของขอบริมบนสุดของภาชนะ มีความจุน้อยกว่า 1.1  ลูกบาศก์เดซิเมตร
      (1.3) ภาชนะแบบลึกขนาดใหญ่ หมายถึง ภาชนะที่มีความลึกเกิน 25 มิลลิเมตร เมื่อวัดในแนวดิ่งจาก  จุดลึกที่สุดภายในภาชนะถึงแนวระดับราบของขอบริมบนสุดของภาชนะ มีความจุตั้งแต่ 1.1 ลูกบาศก์  เดซิเมตรขึ้นไป

     2.) คุณลักษณะที่ต้องการให้มีลักษณะทั่วไปดังนี้  
     (2.1) ภาชนะทุกใบในชุดเดียวกัน ต้องมีแบบ สี และการตกแต่งที่กลมกลืนเข้ากันได้ 
     (2.2) ถ้วยต้องวางตรงกลางจานรองได้สนิท ไม่โคลงเคลง หรือหมุนได้
     (2.3) หู ภาชนะ (ถ้ามี) ต้องอยู่ในตำแหน่งที่ถูกต้อง  
     (2.4) ปากหรือพวย(ถ้ามี)ต้องมีลักษณะที่ยกขึ้นรินแล้วไม่ทำให้ของเหลวไหลย้อยลงมาตามภาชนะ
     (2.5) ฝา (ถ้ามี) ต้องปิดได้พอดี และไม่หลุดจากตัวภาชนะที่มีปากหรือพวยเมื่อรินของเหลวออก
     (2.6) ผิวทั้งหมดที่เห็นได้จะต้องเคลือบสม่ำเสมอยกเว้นจุด ส่วนที่เป็นเกลียว และผิวที่ขอบล่างสุด       ของฐานภาชนะซึ่งไม่จำเป็นต้องเคลือบ แต่ผิงที่ไม่ได้เคลือบนี้จะต้องเรียบร้อย

    3.)  คุณลักษณะที่ต้องการ ต้องไม่มีข้อบกพร่องสำคัญดังนี้ 
     (3.1) จุดขนาดตั้งแต่ 0.5 มิลลิเมตรขึ้นไป 
     (3.2) จุดขนาด 0.25 มิลลิเมตร แต่ไม่ถึง 0.5 มิลลิเมตร ตั้งแต่ 4 จุดขึ้นไปที่ด้านในภาชนะ 
     (3.3) รูเข็มขนาดตั้งแต่ 0.5 มิลลิเมตรขึ้นไป
     (3.4) รูเข็มขนาดเล็กกว่า 0.5 มิลลิเมตร ตั้งแต่ 4 รูขึ้นไปที่ด้านในภาชนะ
     (3.5) ฝุ่นหรือเศษวัสดุฝังในขนาดตั้งแต่ 1 มิลลิเมตรขึ้นไป
     (3.6) รอยร้าว ราน
     (3.7) รอยเปื้อนเนืื่องจากการตกแต่ง
     (3.8) สีผิดมาตรฐาน 
     (3.9) การตกแต่งผิดที่ หรือไม่สมบูรณ์ 
     (3.10) รอยบิ่นที่เนื้อขนาดน้อยกว่า 1.5 มิลลิเมตร ที่ขอบ และน้อยกว่า 3.0 มิลลิเมตรที่ฐาน หากได้    ผ่านการเคลือบแล้วไม่ถือว่าเป็นข้อบกพร่อง
     (3.11) จุดที่เคลือบไม่ติด โดยจุดที่อยู่ทางด้านหลัง และจุดที่เกิดจากเครื่องพ่นปอยไม่ถือว่าเป็นข้อ  บกพร่อง
     (3.12) รอยนูน 
     (3.13) ผิวเคลือบหนาจนมีโพรงอากาศเล็กๆ หรือออกสีเขียว 
    4.)  ปริมาณตะกั่วและแคดเมียม เมื่อวิเคราะห์ตามวิธีที่กำหนดในมาตรฐานผลิตภัณฑ์ เซรามิกที่ใช้กับอาหาร ปริมาณและวิธีวิเคราะห์ตะกั่วและแคดเมียม มาตรฐานเลขที่ มอก. 32 กำหนดให้ปริมาณตะกั่วและแคดเมียมที่สกัดออกมาจากภาชนะจะต้องไม่เกินเกณฑ์ที่กำหนด
      
          เกณฑ์กำหนดปริมาณตะกั่วและแคดเมียม
  - ภาชนะแบน (มิลลิกรัมต่อตารางเดซิเมตร)                       * ตะกั่ว 1.7   * แคดเมียม 0.17
  - ภาชนะแบบลึกขนาดเล็ก (มิลลิกรัมต่อตารางเดซิเมตร)   * ตะกั่ว 5.0   * แคดเมียม 0.50
  - ภาชนะแบบลึกขนาดใหญ่ (มิลลิกรัมต่อตารางเดซิเมตร)  * ตะกั่ว2.5   * แคดเมียม 0.25
  *** ที่มา: สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม

    5.)  ความอดทนต่อการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิโดยฉับพลัน ภาชนะพอร์ชเลนและสโตนแวร์ ต้องทนต่อการเปลี่ยนอุณหภูมิโดยฉับพลันที่แตกต่างกัน 120 องศาเซลเซียส แล้วผิวเคลือบต้องไม่มีรอยร้าวหรือตัวอย่างไม่มีรอยแตกแยก ส่วนภาชนะเออร์เทนแวร์ทดสอบที่ 150 องศาเซลเซียส
    6.)  การดูดซึมน้ำเมื่อทดสอบตาม มอก.564 แล้ว หากเป็นภาชนะพอร์ชเลน ค่าเฉลี่ยการดูดซึมน้ำต้องไม่เกินร้อยละ 0.5 สโตนแวร์ต้องไม่เกินร้อยละ 3 ส่วน ภาชนะเออร์เทนแวร์ไม่เกินร้อยละ 10 
    7.)  ความเปียก เมื่อนำมาทำความสะอาดด้วยสำลีชุบเอทานอลและทำให้แห้ง แล้วจุ่มลงในน้ำสะอาด ผิวภาชนะส่วนที่ทำความสะอาดแล้วต้องเปียกน้ำสม่ำเสมอ
    8.)  เครื่องหมายและฉลาก
   
   แหล่งอ้างอิง : http://www.teacher.ssru.ac.th/reudee_ni/file.php/1/Book-Benjarong/7-c2.pdf


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น