วันจันทร์ที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2557

ประวัติของเครื่องเบญจรงค์

ประวัติความเป็นมาของเครื่องเบญจรงค์

ในการทำเครื่องเบญจรงค์ถือได้ว่าเป็นงานด้านศิลปหัตถกรรมของไทยที่มีมาอย่างยาวนาน ตั้งแต่สมัยโบราณและเป็นงานของช่างฝีมือที่ทำขึ้นเพื่อใช้ในราชวงศ์ชั้นสูง และยังเป็นงานศิลปหัตถกรรมที่แสดง ถึงลักษณะเฉพาะของไทย

"เครื่องเบญจรงค์เป็นเครื่องปั้นดินเผาประเภทเซรามิค"
 โดยวิธีการทำ จะใช้เนื้อดิน ประเภท พอร์ชเลน เป็นเครื่องปั้นดินเผาเคลือบที่เขียนลายด้วยวิธีลงยา มีสี  ผสมเคลือบอยู่ด้วย

(Enamel)เป็นงานที่มีต้นกำเนิดในประเทศจีน ประมานปลายพุทธศตวรรษที่20 ในรัชสมัยพระเจ้าชวนเต๊อะ พ.ศ 1969-1978 สมัยราชวงศ์หมิงได้มีการผลิตครั้งแรกในแคว้นกังไซ มณฑลเจียงซีและพัฒนาต่อมาจนเป็นที่นิยมอย่างมากในสมัยพระเจ้าเฉิงหัว พ.ศ 2008-2030

การเขียนลายตามแบบของจีนจะใช่3สีขึ้นไป ส่วนที่เป็นของไทยจะนิยมลง 5 สีด้วยกัน คือ ขาว เหลือง ดำ แดง เขียว(คราม) จึงเรียกว่า "เครื่องเบญจรงค์" หรือ5สี โดยทั้ง5สี จัดได้ว่าเป็นแม่สีเครื่องถ้วยเบญจรงค์ของไทย

ในอดีตใช้การสั่งทำที่ประเทศจีนตามความคิดและลวดลายของไทย การสั่งทำนั้นจะมีช่างของไทยเดินทางไปควบคุมงานการผลิตเพื่อให้ได้รูปลักษณะที่เป็นของไทย เริ่มตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา ยุคที่3ช่วงประมาณรัชสมัย พระเจ้าประสาททอง

   สมัยราชวงศ์หมิงตอนปลาย การสั่งทำจากประเทศจีนในสมัยนั้นได้สั่งทำเป็นโถปริก  และโถฝาขนาด กลาง เขียนเป็นลายกนก  ลายพุ่มข้าวบิณฑ์  ลายเทพนม  และ ลายนรสิงห์  และยังมีที่เป็นลวดลายของจีน เช่น  ลายเทพนมจีน  (เทวดาท้องพลุ้ย)  มีพื้นสี ต่างๆ  เช่น  เหลือง  ชมพู  ม่วงอ่อน  เครื่องถ้วย เบญจรงค์ของไทยมีทั้งสั่งทำที่เมืองจิงเต๋อเจิ้น  และจากเตาเผาที่มณฑลฝูเจี้ยนและ กวางตุ้ง  เครื่องเบญจรงค์ที่สั่งทำจากเมืองจิงเต๋อเจิ้น  มักเป็นของใช้ในราชสำนักเพราะเนื้อดินปั้นละเอียด  แกร่ง  และช่างมี ฝีมือดี  เขียนลายได้ละเอียดสวยงาม